วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปรอทวัดไข้ กับ แหวนทองคำ : Mercury and gold

 
วันนี้ตื่นเช้ามาต้องพบกับความงุนงง ปน ประหลาดใจอย่างมากๆ ไม่เคยพบเจอมาก่อนตั้งแต่เกิดมาจนอายุปานนี้ หุหุ คือ แหวนทอง(ที่มีเพชรเม็ดขี้ปะติ๋วอยู่บนหัว นี้สนึง)ที่เคยใส่อยู่ติดกับนิ้วกลางเป็นประจำ มันกลายเป็นสีขาวทั้งวงเลย ซึ่งคิดว่ามันแปลกมาก นึกไม่ออกว่ามันเป็นไปได้ยังไง เลยงงกับตัวเองอยู่สักพัก ก็เริ่มคิด ทบทวนว่าตั้งแต่เมื่อวานก่อนนอน เราทำอะไรไปบ้าง จนกระทั่งถึงเช้า ก็นึกขึ้นมาได้ว่า มีอยู่เหตุการณ์นึง หลักๆ เลย คือ เมื่อตอนเย็นมีคนที่บ้านเป็นไข้ตัวร้อนมาก ก็ไปหยิบ ปรอทวัดไข้ ขึ้นมาแล้ววัดไข้ดู เสร็จแล้วก้เก็บไว้แต่ปรากฎว่า ทำอีท่าไหนไม่รู้ ทำมันตกแตก กระเด็นกระดอนไปคนละทิศทาง แต่เราเห็นตัวปรอทอ่ะ กลิ้งไหลไปมา ก็เลยพยายามจะหยิบ จับขึ้นมาดู แต่ก็หยิบไม่ได้ เราก็เลยใช้ประดาษช้อนขึ้นมา แล้วเอามาห่อ รวมกันพับเก็บไว้ พอจังหวะที่หยิบพับนั้นปรากฎว่า เจ้า ปรอทมันไหลลื่น กลิ้งวิ่งมาจับที่แหวนนิ้วกลางเพราะมันอยู่ในอุ้งมือพอดี เราก้งง เออ มันหายไปไหนหว่าา เพราะมันกลายเป็นเนื้อเดียวกันกับแหวนเลย แต่ว่าตอนนั้นสีมันยังไม่เปลี่ยนไปมากเท่าไหร่ ก้เลยไม่สนใจอะไร เข้านอน...แต่พอตื่นเช้ามาสิ่งที่เห็น ก็ได้สร้างความงุนงง อย่างที่บอก แหะๆ เลยคิดว่าน่าจะเป็นที่มา ของเจ้าแหวนทองกลายเป็นเงิน เราเลยมาเสริซ ในเวบอากู๋รู้ทุกอย่าง ก็เจอคำตอบจังๆ ....มาดูกันค่ะว่าเจ้าสารปรอท มีบทบาทในชีวิตประจำวันเราอย่างไร

ข้อมูลน่ารู้(สามารถอ่านเพิ่มเติม)ได้จากวิกิพีเดีย
ปรอท (อังกฤษ: Mercury; ละติน: Hydragyrum) เป็นโลหะหนักสามารถหาปรอทได้จากหินที่ขุดพบในเหมือง โดยการนำหินนั้นมาทำให้ร้อนด้วยอุณหภูมิ 357 องศาเซลเซียส ปรอทเป็นสารที่มีความหนาแน่นสูง ถึงขั้นที่ก้อนตะกั่วหรือเหล็กสามารถลอยอยู่ได้ ถึงแม้ปรอทจะมีลักษณะคล้ายตะกั่วและเป็นของเหลว แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่ว (มวลอะตอม 200.59) และถึงแม้ปรอทจะเป็นโลหะ แต่ก็ไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก เราสามารถนำปรอทมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิและความดัน การย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ. นอกจากนี้ เนื่องจากว่าปรอทมีจุดเดือดไม่สูงนัก จึงได้มีการทดลองนำ เมอคิวริคออกไซด์ มาผลิดเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์อีกด้วย..

จากเวบร้านทอง...
ธาตุ ปรอท เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ได้มีการบันทึกไว้ว่าอารีสโตเติล (Aristotle) รู้จักปรอทเมื่อ 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปรอทมีชื่อภาษาอังกฤษว่า mercury แต่มีสัญญลักษณ์ Hg ซึ่งตั้งขึ้นโดย Berzelius มาจากคำลาติน hydrargyrum ซึ่งมีความหมายว่าเงินเหลว (liquid silver) เพราะลักษณะภายนอกเหมือนโลหะเงิน แต่สามารถไหลหรือกลิ้งไปมาได้ทำนองเดียวกับของเหลว ต่อมาได้มีการเรียกว่า "quicksilver" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกัน คนโบราณรู้จักนำปรอทไปชุบหรือเคลือบผิวโลหะต่าง ๆ เช่น ทองแดง ทองคำ ในสมัยกลางนักเล่นแร่แปรธาตุ (alchemist) ได้พยายามหาวิธีเปลี่ยนปรอทให้เป็นทองคำ (ในตารางธาตุ ทองเป็นธาตุลำดับที่ 79 ส่วนปรอท เป็นธาตุลำดับที่ 80 ติดกันเลย)

ปรอท ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการทำเหมืองเลยทีเดียว โดยใช้ปรอทในการเอาทองออกมาจากแร่ที่มีทองอยู่ ปรอทจะเปลี่ยนเป็นอะมัลกัม (amalgam) รวมกับทอง (มีความคล้ายคลึงกับอะมัลกัมที่มีปรอทและเงินผสมอยู่ที่ใช้อุดฟัน) เพื่อจะแยกเอาทองออกจากส่วนประกอบอื่นๆ เช่นหินและดิน จากนั้นทองก็จะถูกเอาออกมาจากอะมัลกัมโดยการต้มเพื่อแยกปรอทออกมา ปรอทจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่โดยทำภายในตู้ที่ปิดอย่างดี

งาน เครื่องถมทองของไทย ก็ใช้ปรอทในการลงถมเช่นกัน โดยรีดทองคำบริสุทธิ์ให้เป็นแผ่นบาง ตัดเป็นฝอยเล็ก ๆ และบดจนเป็นผง ผสมกับปรอท กวนให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว เรียกว่า "ทองเปียก" แล้วนำวัตถุที่จะแตะทองมาทำความสะอาดให้หมดความเค็ม ด้วยน้ำส้มมะขามหรือน้ำมะนาว เช็ดทำความสะอาดแล้ว ตะทองบริเวณลวดลายที่ต้องการตกแต่ง เมื่อถูกความร้อนปรอทจะระเหย เหลือแต่ทองคำที่แตะแต่งไว้ตามลาย ต้องทำซ้ำกันเช่นนี้หลายครั้ง จนได้ความหนาตามต้องการ


งาน กะไหล่ หมายถึง เคลือบภาชนะและของใช้ต่าง ๆ ด้วยทองหรือเงิน ด้วยวิธีการใช้ปรอททา ทำให้ร้อนแล้วจึงปิดแผ่นทองหรือแผ่นเงิน กะไหล่ เป็นคำที่มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า kalayi. ปัจจุบันช่างทำเครื่องใช้ที่เป็นเงินเป็นทองมักใช้วิธีชุบแทนกะไหล่ เพราะทำได้เร็วกว่าถูกกว่า แต่การชุบนั้นทองจะเคลือบผิวบางมาก ผิวทองจึงไม่ติดทนเท่ากะไหล่. คำว่า กะไหล่ บางคนเรียกว่า กาไหล่ หรือ ก้าไหล่ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ใช้ว่า กะไหล่ แต่ก็เก็บคำว่า กาไหล่ ไว้ด้วย) วิธีการทำก็คล้ายวิธีการทำทองเปียกโดยใช้ปรอทเช่นเดียวกัน แต่ใช้วิธีการชุบ แทนการทา 

การเคี่ยวทองรวมกับปรอท ไม่ใช่เรื่องยากเลย แค่นำผงทองลงไปคน อาจใช้ไฟอ่อนช่วย ก็สามารถทำให้ทองรวมตัวกับปรอทได้แล้ว เช่นนี้เอง ปรอทจึงถูกนำมาใช้ในขั้นตอนการทำทองตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะการรวมตัวกันที่ง่าย ดังนั้น เมื่อทองรูปพรรณที่เราสวมใส่ ไปถูกกับสารที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มีส่วนประกอบของสารปรอท เราจึงพบทองกลายเป็นสีขาว กลายเป็นที่มาของความเข้าใจผิดนั่นเอง

มาดูกันว่า ชีวิตประจำวันเราเจออะไรบ้างที่มีสารปรอท สำหรับร้านทองเอง มักเจอมากที่สุดคือพวกพยาบาลกับร้านทำฟัน


ร้าน ทำฟันนั้น ตัวหลักที่ถูกใช้งานทุกวัน และมีส่วนผสมของปรอทอย่างมากคือ อะมัลกัม (amalgam) ที่ใช้อุดฟันนั่นเอง โดยมีส่วนผสมประมาณ ถึง 50% ที่เหลือคือ โลหะเงินเป็นหลัก ตามด้วย ตะกั่ว ทองแดง สังกะสี ตามแต่สูตรของผู้ผลิตจะคิดค้นกันมา
เมื่อทองที่สวมใส่ไปทำฟันด้วย( ไม่รู้ว่าจะใส่ไปทำไม) โดนน้ำกรอฟันที่อุด ซึ่งวัสดุอุดฟันหรือ อะมัลกัม นั่นเอง กระเด็นใส่ ปรอทที่ปนเปื้อนมากับน้ำกรอฟัน ก็เหมือนพบเนื้อคู่ โดดเข้าจับติดหนับไม่ปล่อย เห็นเป็นดวงๆ ตามรอยที่กระเด็นมา

ยา รักษาฝ้าบางชนิด ที่ทำให้หน้าขาววอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาที่โฆษณาว่าทำให้หายได้ทันที มักมีส่วนผสมของสารปรอท ซึ่งสามารถใช้ได้ผลจริง แต่อาจมีอันตรายจากการสะสมปรอทที่ผิวหนัง และในร่างกายได้ สำหรับผมเอง ยังไม่เคยเจอกรณีทองโดนยารักษาฝ้าครับ แต่คิดว่า ถ้าโดนก็คงเป็นเรื่องเช่นกัน

ยาแดง หรือ เมอร์คิวโรโครม (mercurochrome) ถือเป็นยาสามัญคู่บ้านมาช้านาน ปัจจุบันลดความนิยมลง หันมาใช้ตัวอื่นที่ได้ผลเช่นกันแต่ไม่แสบ ไม่เป็นอันตรายเท่า เช่น โพวิโดน-ไอโอดีน (เบทาดีน)
ยาแดง ใช้ทาพวกแผลสดที่เป็นถลอกตื้นๆไม่ลึก เพราะว่ามันจะทำให้เกิดสะเก็ดแผลแห้งเร็วคลุมแผลไว้ไม่ให้เชื้อโรคเข้าแผล ไม่ควรทาลงบนแผลโดยตรง เพราะกลายเป็นแผลจะหายยากและอาจเป็นอันตรายจากสารปรอทแทน
ยาแดงใช้สาร ปรอทเป็นหลัก ซึ่งมีผลในการฆ่าเชื้อโรคเป็นอย่างดี ถ้าใครเคยสังเกต หลังการทายาแดง จะเห็นว่า มีเงาสะท้อนให้เห็นชัดเจนเพราะมีโลหะหนักเช่นปรอท เป็นส่วนประกอบในอัตราค่อนข้างสูงนั่นเอง


read more  http://goldjewelrydiamondfortip.blogspot.com/2009/08/gold_17.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น