วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

Self-Defense การป้องกันตัวเอง

เรื่องการป้องกันตัวเองให้พ้นจากอันตรายรอบด้านนั้นเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับลูกผู้หญิง ดังนั้น การเรียนรู้ จากบทความนี้คงจะเป็นเครื่องเตือนสติ ได้เป็นอย่างดีว่า เราควรทำเช่นไร หากเกิด เหตุการณ์คับขันขึ้นมา การช่วยเหลือตัวเองให้รอดพ้นจากภัยครั้งนั้น ๆ บังเอิญว่าผู้เขียน ก็เป็นคนชอบและสนใจ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ เสมอ สืบเนื่องจากฉบับที่แล้ว ได้พบบทความไปเกี่ยวกับเรื่อง ทางด้านกฎหมาย วิชาการไปแล้ว ได้มาจากบทความนี้เข้าโดย อากู๋ เวบเสริซ ก็เห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเองและท่านผู้อ่าน เป็นอย่างมาก จากการเขียน และ เรียบเรียงของคุณ Batman ซึ่งกล่าวไว้ว่าพื้นฐานการป้องกันตัว (Fundamental Self-defense) ที่สำคัญ 3 ประการ เรามาดูกันว่า 3 ประการนั้นคืออะไรบ้าง และอย่างไร
สติ (Consciousness) เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ถ้าเรามี “สติ” ตลอดเวลา ไม่เหม่อลอย รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ มีความตระหนักรู้สิ่งรอบตัว (Awareness) รับรู้ได้ถึงสัญญาณความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทำให้สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ ร้ายได้ก่อนที่จะมาถึง มีความพร้อมที่จะเผชิญเหตุร้าย เชื่อในสัญชาติญาณด้านความปลอดภัยของตน ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มีจิตสำนึกของการป้องกันตัว (Self-defense Mind)
ในขณะเผชิญเหตุหากมี “สติ” ก็จะสามารถคิดหาวิธีที่บรรเทาความเสียหาย หาทางเอาตัวรอดด้วยวิธีการต่างๆ ผ่อนหนักให้เป็นเบา

หลังเผชิญเหตุก็สามารถเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เรียนรู้ความผิดพลาดและหาวิธีป้องกัน สามารถลดผลกระทบระยะยาวได้


ความรู้ (Knowledge) ในการป้องกันตัวนั้นมีความสำคัญยิ่ง โดยเน้นที่การป้องกัน “ก่อน” เกิดภัยคุกคาม เรียนรู้ที่จะระมัดระวังตัว รู้ว่าทำอย่างไรไม่ให้เราตกเป็นเป้าหมายของคนร้าย รู้วิธีการให้เกิดความปลอดภัยภายในบ้าน ที่ทำงาน การเดินทาง รู้จักสังเกตุสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การนำสิ่งต่างๆรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเอาตัวรอด


ความ รู้ในขณะเผชิญเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใช้หรือไม่ใช้กำลังในการแก้ไขสถานการณ์ มีความรู้ที่จะทำให้ภัยคุกคามนั้นผ่านพ้นไปได้ด้วยดี หากต้องใช้กำลังก็ต้องมีความรู้ในการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า เมื่อมีอาวุธติดตัว เช่น มีด ดิ้ว (Baton) ก็ต้องมีความรู้ว่าจะใช้มันอย่างไร รู้ข้อดีและข้อจำกัด มีความรู้ในการนำสิ่งของรอบตัวมาปรับใช้ให้เป็นอาวุธ (Improvised weapons) เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคนร้าย มีความรู้หลายด้านเพื่อให้สามารถรับสถานการณ์เลวร้ายได้หลายรู้แบบ รู้ถึงความแตกต่างระหว่างศิลปะการต่อสู้ (Martial Arts) และ การป้องกันตัว (Self-defense) โดยเฉพาะความรู้ในการป้องกันตัวแบบผสมผสาน รู้ถึงความแตกต่างระหว่างการต่อสู้ด้วยมีด (Knife fighting) และ การป้องกันตัวด้วยมีด (Self-defense with a knife)


เมื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นไปก็มีความรู้ที่จะ บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นและหาทางป้องกันในอนาคต ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม และส่งเสริมการให้ความรู้เพื่อการป้องกันตัวแก่บุคคลอื่น


ทักษะ (Skill) การฝึกให้มี “สติ” ตลอดเวลา มี Self-defense mind นั้นจำเป็นต้องฝึกฝนบ่อยๆ จนสามารถทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ และความรู้ในการป้องกันตัวหลายด้านก็จำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ เรียนรู้ตนเองว่าสามารถทำอะไรได้และทำอะไรไม่ได้ รู้ข้อจำกัดของตนเอง การมีทักษะที่หลากหลายเปรียบเสมือนมีเครื่องมือให้เราเลือกใช้ได้มาก สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อเพิ่มโอกาสเอาตัวรอดจากภัยคุก คามได้ รู้ว่าทักษะใด “ต้องรู้ ควรรู้ น่ารู้”

สติ-ความรู้-ทักษะ จึงเป็นสามประสานที่สำคัญในการป้องกันตัว (Self-defense) การเรียนรู้การป้องกันตัวนั้นจึงต้องศึกษาหลักสามประการนี้เสมอ หากเราสนใจเพียงการใช้กำลัง เช่น การป้องกันตัวด้วยมือเปล่าหรือการใช้อาวุธมีดแต่เพียงอย่างเดียว ก็เท่ากับว่าเรามีความรู้เพียงเสี้ยวหนึ่งของการป้องกันตัวเท่านั้น

การใช้กำลังเป็นเพียงส่วนน้อยของการป้องกันตัว แต่เป็นส่วนใหญ่ของศิลปะการต่อสู้


Thaiself-defense เป็นแหล่งให้ความรู้ในการป้องกันตัวโดยอาศัยหลัก สติ-ความรู้-ทักษะ มุ่งเน้นการป้องกันตัวแบบผสมผสานและการใช้อาวุธมีดเพื่อป้องกันตัว โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนในการเอาตัวรอดจากภัยคุกคามในสังคมภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

Friday, July 23, 2010



Saturday, July 17, 2010


Targets of self-defense by a knife

Targets of self-defense by a knife

ในการป้องกันตัวนั้นไม่ว่าเราจะใช้หรือไม่ ใช้อาวุธ จุดประสงค์หลักคือ เอาตัวเรารอดออกมาจากภัยคุกคามอย่างปลอดภัยหรือบาดเจ็บให้น้อยที่สุดเท่าที่ จะเป็นไปได้ ในการฝึกสอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะสอนวิธียิงปืนเพื่อ “หยุดยั้ง” คนร้ายมากกว่าที่จะ “สังหาร” คนร้าย ซึ่งหลักการนี้ก็ใช้ในการป้องกันตัวด้วยเช่นกัน



การ หยุดยั้งคนร้ายนั้น หมายความว่า คนร้ายหมดความสามารถที่จะเป็นภัยคุกคามได้อีกต่อไป ซึ่งคนร้ายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเสียชีวิตเสมอไป เช่น กระสุนปืนขนาด .45 นิ้วเมื่อยิงถูกคนร้ายบริเวณลำตัวแล้วสามารถทำให้คนร้ายทรุดลงกับพื้น (คนร้ายอาจไม่ได้เสียชีวิตทันที) หมดสภาพที่จะเป็นภัยคุกคามได้เร็วกว่ากระสุนปืนขนาด .38 นิ้ว นั่นหมายความว่า กระสุนปืนขนาด .45 นิ้วมีอำนาจหยุดยั้ง (Stopping power) ดีกว่ากระสุนปืนขนาด .38 นิ้ว

ในขณะที่การสังหารด้วยอาวุธ บางครั้งคนร้ายอาจถูกอาวุธของเราแล้วถึงแม้จะเสียชีวิตอย่างแน่นอน แต่เขาอาจยังมีแรงมากพอที่จะทำอันตรายเราต่อได้จนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต ก่อนที่เขาจะล้มลงสิ้นใจ


ใน การป้องกันตัวโดยสุจริตชนนั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องกระทำโดยไม่ให้รุนแรง เกินกว่าเหตุ ซึ่งต้องขึ้นกับสภาพการณ์ของภัยคุกคามขณะนั้น หากเราใช้วิธีการป้องกันตัวโดยไม่มุ่งหวังเอาชีวิตของคนร้ายแต่เพียงอย่าง เดียว ในแง่ของกฎหมายก็ยังพอมีทางออกให้ได้ ดังนั้นความสามารถในการหยุดยั้งคนร้ายจึงมีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสังหารคนร้าย

เป้าหมายการโจมตีด้วยมีดซึ่งหวังผลในการหยุดยั้งคนร้ายนั้น จะมุ่งเน้นที่แขนหรือมือข้างที่ถืออาวุธ ทำให้ไม่สามารถถืออาวุธต่อไปได้หรือลดความสามารถ (Ability) ในการใช้อาวุธในมือลง และขาของคนร้ายทำให้การเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว (Mobility) ของคนร้ายทำได้ไม่สะดวก เมื่อเราหนีคนร้ายจะไม่สามารถวิ่งไล่ตามเราได้ นอกจากนั้นเมื่อคนร้ายสูญเสีย Ability และ Mobility จะทำให้เราควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น


ใน ความตึงเครียดที่มีสารอะดรีนารีน (Adrenaline) หลั่งออกมาทำให้ร่างกายตื่นตัวสุดขีด มีความทนต่อความเจ็บปวด และมีพละกำลังมากกว่าปกติ การทำให้คนร้ายหมดความสามารถในการเป็นภัยคุกคามจะขึ้นอยู่กับการเล่นงาน Ability และ Mobility ของคนร้ายเป็นสำคัญ ทั้งสองส่วนนี้ผู้ฝึกมีดเพื่อป้องกันตัวควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก


สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับมีดขอให้มี
“สติ”
 ขอบคุณที่ให้ความรู้ และแบ่งปัน http://www.thaiselfdefense.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น