การดู Spec Notebook สำหรับมือใหม่ Update 2011
| ||
สำหรับใครที่ต้องการโน๊ตบุ๊กสักเครื่อง การดูสเปกได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก (ยกเว้นจะให้เพื่อนๆที่ดูเป็นคนช่วย)
เพราะหมายถึงการที่ได้เครื่องตรงความต้องการใช้งานของเรามากที่สุด
ต่องบประมาณที่จำกัด บางท่านอาจจะต้องการใช้แค่พิมพ์งานเล่นเน็ต
แต่ดูสเปกไม่เข้าใจอาจจะไปซื้อเครื่องรุ่นใหม่ที่กินตัวไป
เพราะเห็นแค่เพียงว่าราคาสูงน่าจะใช้งานเราได้แน่ๆ
หรือบางท่านต้องการเครื่องที่มีพอร์ตต่างๆตามต้องการเช่น HDMI สำหรับต่อจอ
LCD TV หรือ E-Sata สำหรับต่อฮาร์ดดิสค์ความเร็วสูง
ถ้าเราดูสเปกผิดเพียงนิดเดียวก็อาจจะทำให้เราซื้อเครื่องมาผิดจุดประสงค์การ
ใช้งานได้เพราะฉะนั้น
การดูสเปกแบบคร่าวๆพอเข้าใจอาจจะไม่ต้องถึงขั้นรู้เทคโนโลยีอะไรมากมายเพียง
แต่สามารถจับจุดได้ แค่นี้ก็สบายหายห่วงแล้ว
ออกตัวก่อนนะครับว่าในบทความนี้จะแนะนำแค่คราวๆ ไม่ถึงกับลงลึกไปว่า งานนี้ควรจะใช้ซีพียูอะไร เพียงแต่แนะนำพอรู้ถึงกลุ่มต่างๆเท่านั้นนะครับ ไปดูทีละส่วนกันเลย CPU คือหน่วยประมวลผลเปรียบเหมือนสมองกลของ คอมพิวเตอร์ บางท่านอาจจะคิดว่ามันเป็นกล่องสี่เหลี่ยมรึเปล่า แต่ไม่ใช่อย่างนั้น CPU คือ Chip ขนาดประมาณ 1นิ้ว x 1 นิ้ว ใหญ่ว่า หรือ เล็กกว่า (แล้วแต่ Model) โดยในโน๊ตบุ๊กนั้นแม้จะไม่ค่อยนิยมเปลี่ยนซีพียูเองเท่าไรเพราะ หาซื้อยาก มีราคาสูง และอาจจะกระทบกับการรับประกันได้ แต่ก็มีหลายๆท่าน ลองเปลี่ยนดูมาแล้วนะครับ ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU Notebook รายใหญ่อยู่แค่ 2 บริษัท คือ AMD และ Intel ซึ่งส่วนมาก Intel จะครองตลาดซะมากกว่า โดยจะแบ่งได้หลายระดับที่นิยมและมีขายในตอนนี้ทั้ง Intel
Chipset คือส่วนที่ค่อยควบคุม อุปกรณ์แทบทั้งหมดของเครื่อง หรือเรียกได้ว่าเป็นตัวประสานงานต่างๆขอบอุปกรณ์บนเมนบอร์ดก็ว่าได้ ตั้งแต่ซีพียู แรม …. ไปจนถึงพอร์ตต่างๆ ล้วนแต่พึ่งพา ชิปเซ็ตทั้งนั้น มีผู้ผลิตชิปเซ็ตก็มีทั้ง Intel ซึ่งจัดได้ว่าเป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตรายใหญ่ที่สุด โดยจะผลิตชิปเซ็ตมารองรับซีพียูของตนเองเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว พอซีพียูรุ่นใหม่ออกก็จะผลิตชิปเซ็ตออกมารองรับทันทีทันใด แน่นอนว่าซีพียูเป็นของ Intel เกือบทั้งหมด ชิปเซตเอง Intel ก็กินส่วนแบ่งเกือบทั้งหมด แต่ก็มียี่ห้ออื่นๆที่หลุดๆมาบ้างทั้ง AMD ที่เหมือนๆกับ intel คือผลิตชิปเซ็ตให้ซีพียูตนเองเป็นหลัก นอกเหนือจากนั้นก็มีทั้ง NVIDIA, SIS, VIA
Chipset
โดยในปัจจุบันซีพียูหลายรุ่นจะผนวกรวม north
bridge ชิปหลักที่ความคุมอุปกรณ์หลักๆเช่นการ์ดจอ แรม
ซีพียูเข้าไปในซีพียูแล้วเพื่อทำให้สามารถลดเวลาการสั่งงานไปได้เช่น APU
ของ AMD แต่ก็ยังคงมี south bridge ที่คอยควบคุมอุปกรณ์อื่นๆแยกอยู่ เช่น
HDD พอร์ตต่างๆ
คือหน่วยที่ประมวลผลด้านภาพออกมาแสดงทางจอ มีด้วยกัน 2 ประเภทคือ Onboard ที่จะรวมภาคประมวลผลภาพของการจอลงในชิปเซ็ตของเครื่องด้วย และแน่นอนว่ายังคงเป็นของ Intel เสียส่วนใหญ่ ความสามารถนั้นก็ถือว่าเป็นในระดับล่าง ใช้งานทั่วไป ดูหนัง เล่นเกมส์ที่ความละเอียดไม่สูงมากได้บ้าง อีกชนิดหนึ่งคือแยกชิปเซ็ตแยกจากชิปเซ็ตหลัก มีทั้งแบบเป็นการ์ด และแบบที่เป็นชิปเซ็ตฝังบนเมนบอร์ดเลย โดยมีบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ 2 ราย คือ ATI และ NVIDIA ความสามารถต่างๆ นาๆ นั้นก็จะขึ้นอยู่กับราคา ยิ่งแพงการประมวลผลด้านภาพก็จะยิ่งดี ยิ่งเล่นเกมส์ ดูหนัง Hi-Def ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รุ่นยอดฮิตในไทยก็ได้แก่ Onboard
ATI
Graphic Chip
คือส่วนที่เป็นจอภาพ โดยจอภาพนั้น จะมีขนาดเล็กๆตั้งแต่ 7 นิ้ว ไปจนถึง ใหญ่ๆ 18 – 20 นิ้วกันเลยทีเดียว ตามความต้องการเช่นใครต้องการพกพาสะดวกก็ดูรุ่นที่จอเล็กๆหน่อย แต่ถ้าใครซื้อไปเป็นเครื่อง PC สำหรับดูหนังเล่นเกมส์แบบว่าไม่ค่อยได้ยกไปไหนมาไหน จะซื้อรุ่นที่จอใหญ่ๆก็ตามชอบเลยครับ และอีกสิ่งที่เป็นข้อสังเกตุคือ Resolution ยิ่งมีค่าสูงจอภาพก็จะมีความละเอียดมาก เช่น จอที่ไว้ดูหนัง Hi-Def โดยเฉพาะ จะอยู่ที่ 1920×1080 ซึ่งจะพบได้ใน Notebook ระดับ Hi-End ราคาสูง
1920×1080
เป็นหน่วยความจำชั่วคราวสำหรับเป็นที่พักข้อมูล ยิ่งมีความจุสูงก็จะยิ่งทำให้ Notebook สามารถทำงานได้ลื่นไหลมากขึ้น และความเร็วของแรมเช่น 667 800 1066 1333 MHz นั้นยิ่งมากก็จะยิ่งทำให้เครื่องทำงานได้ไวสอดคล้องกับซีพียูมากขึ้น ส่วนมากของโน๊ตบุ๊กในปัจจุบันใช้ RAM DDR3 กันหมดแล้ว แต่ก็ยังมีโน้ตบุ๊กรุ่นเก่าๆที่ใช้ DDR2 อยู่บ้าง โดยการเลือกใช้นั้นด้วยราคาแรมในปัจจุบันที่ถูกลงมามาก แรมก็ไม่ควรต่ำกว่า 4 GB เป็นอย่างน้อย เพราะในระดับนี้จะทำอะไร เล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง ทำงาน ในเครื่องสามารถใช้งานได้สบายๆแล้ว ซึ่งโน้ตบุ๊กทั่วๆไปจะรองรับความจุสูงสุดได้ 8 GB
RAM DDR2
เป็นหน่วยความจำหลักที่จะบรรจุซอฟแวร์ต่างๆไว้ใน นี้ ถ้า Hard Disk มีความจุมากก็จะทำให้มีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลต่างๆเช่น หนัง เพลง มาก จนไม่ต้องกลัวว่าจะเต็มๆ ในเครื่องปัจจุบันที่ขายกันทั่วๆไปต่ำๆก็จะมีมาให้ 320 GB เพียงพอสำหรับเก็บข้อมูลได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ๆเป็นประจำ ก็ไม่ควรน้อยกว่า 640 GB อีกทั้งยังมาฮาร์ดดิสค์อีกประเภทที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นคือชนิด Sloid-State Drives (SSD) เป็นฮาร์ดดิสค์ที่ใช้ IC Chip มาบันทึกข้อมูลแทน แบบจานหมุนในฮาร์ดดิสค์ทั่วไป ซึ่งทั้งเร็วและมีความคงทนสูงกว่าฮาร์ดดิสค์แบบธรรมดาที่เราใช้กันอยู่ แต่ก็มีราคาสูงตามไปด้วย ซึ่งจะเริ่มเห็๋นจำหน่ายกันมากขึ้นและนำมาใช้กับโน้ตบุ๊ก Hi end กัน โดยฮาร์ดดิสค์ทั่วๆไปที่แถมมากับเครื่องจะมีความเร็วรอบจานหมุนที่ 5400 RPM แต่ถ้าจะให้ดีควรจะมีความเร็วที่ 7200 RPM จะสามารถใช้งานได้รวดเร็วกว่า
Hard Disk
มีหลายชนิดมากมายเลยครับ ที่นิยมนำมาลง Notebook มากที่สุดตอนนี้ก็คงเป็น DVD Writer (Dual Layer Support) ที่สามารถ อ่าน-เขียนแผ่น DVD ก็จะมีตั้งแต่เขียนได้ 8X 16X 20X ครับ ส่วน Drive ที่มาแรงคงหนีไม่พ้น Blu-Ray ที่มีขนาดบรรจุถึง 27 G อัตราการโอนถ่ายข้อมูลเร็วถึง 36 Mbps แต่ติดที่ยังราคาแพงอยู่ แต่ในอนาคตไดร์ฟและแผ่นแบบ Blu-Ray จะเข้ามาเป็นมาตฐานใหม่แทน DVD ในไม่ช้านี้แน่นอน
Blu-Ray Disc
ขอบคุณที่มา ของความรู้ ล้วนๆ :notebookspec http://notebookspec.com/web/?p=290
|
วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การดู Spec Notebook สำหรับมือใหม่ Update 2011
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น