วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

4 ขั้นตอนก่อนซื้อ iPad, iPhone

4 ขั้นตอนก่อนซื้อ iPad, iPhone ต้องเช็คหรือตรวจสอบอะไรบ้าง

74,771
Fans
อย่างที่ทราบกันว่าราคาของ iPad, iPhone ก็ไม่มีได้ถูก ฉะนั้นในการซื้อหามาใช้งานนั้น เราเองควรเช็คให้ดีๆ เสียก่อนว่า iPad, iPhone ที่เราเสียเงินซื้อจากร้านหรือศูนย์บริการเครือข่ายมานั้น มีปัญหาอะไรหรือเปล่า เพราะถ้ามีเราจะได้ทำการเปลี่ยนเครื่องได้อย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้เราต้องเสียเวลามาเคลมอีกรอบ โดยเฉพาะในส่วนของ iPhone 5s และ iPad 5, iPad mini 2 ที่ต้องระวัง  เรื่องของตัวบอดี้เล็กน้อย เนื่องจากมันสามารถเป็นรอยได้ค่อนข้างง่ายกว่าที่เคยมีมา (เป็นรอยตั้งแต่แกะกล่องก็มี) ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่าก่อนจ่ายเงินซื้อ iPad, iPhone รุ่นใหม่ (รวมไปถึง iPod Touch) เราควรจะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ตัวเครื่องที่ดีที่สุดและปัญหาน้อยที่สุด ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน

1. ตรวจสอบกล่อง

ขั้นแรกเลยก็คือตรวจความเรียบร้อยของกล่องว่ามีความเรียบร้อยหรือไม่ทั้งในส่วนของการซีลพลาสติกใสหรือตัวกล่องมีรอยบุบหรือไม่ แม้ว่ามันจะมีซีลพลาสติกใสมาก็จริง แต่อย่าลืมว่าสมัยนี้การซีลพลาสติกสามารถทำได้ง่ายมาก ดังนั้นให้เน้นไปที่การตรวจสอบที่กล่องว่ามีรอยบุบเยอะหรือเปล่า มีรอยขีดข่วนมั้ย เพราะถ้ามีรอยมาเยอะๆ เป็นไปได้ว่าอาจจะเคยถูกแกะมาก่อน หรือในขั้นตอนการจัดส่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการโยน ซึ่งถ้ามีการโยนจริงๆ อาจส่งผลกระทบกับตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ภายในกล่องได้ครับ

2. เช็ครอบตัวเครื่อง

ขั้นตอนสำคัญที่สุดคือการเช็คตัวเครื่องโดยรอบครับ ขั้นตอนนี้จะต้องใจเย็นซักนิดหนึ่ง เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้วว่า iPhone 5s, iPad 5 และ iPad mini 2 อาจเป็นรอยได้ง่าย ซึ่งรอยนั้นเป็นไปได้ว่ามันอาจจะมีมาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเลยก็เป็นได้ (ทางทีมงานเคยเจอมาแล้ว) ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบให้ดีๆ ตามจุดต่างๆ ดังนี้
  • ฝาหลัง ต้องเช็คในส่วนของอะลูมิเนียมที่เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของฝาหลังให้ดีๆ เพราะเป็นส่วนที่มีแนวโน้มว่าจะถลอกได้มากที่สุด โดยเฉพาะเครื่องสีดำ ที่อาจมีรอยขีดข่วนมาตั้งแต่กระบวนการผลิต ส่วนในเครื่องสีขาวนั้นดูเหมือนว่าจะมีปัญหาน้อยกว่า และปิดท้ายด้วยส่วนที่เป็นกระจกตรงแถบๆ กล้องหลัง อันนี้ไม่ค่อยพบปัญหาเท่าไรครับ
  • ขอบเครื่อง เป็นส่วนที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาเป็นอันดับที่สอง โดยขอบเครื่องจะมีแยกย่อยเป็นสองรูปแบบ คือขอบส่วนกลางซึ่งจะมีพื้นผิวเป็นแบบเดียวกับฝาหลัง ซึ่งก็ต้องใช้วิธีการตรวจสอบคล้ายๆ กัน กับอีกส่วนที่เป็นขอบตัด ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีรอยกระแทก หรือรอยที่เกิดจากการตัดและเจีย เช่นอาจจะเป็นจุดนูนๆ ขึ้นมา จึงต้องอาศัยการตรวจสอบที่ละเอียดและใช้เวลาซักหน่อยครับ
  • พอร์ต Lightning และปุ่มกด ส่วนนี้มักจะไม่ค่อยพบปัญหาเท่าไร การตรวจสอบเบื้องต้นก็ไม่ยากครับ ลองส่องดูว่าในช่องต่างๆ มีอะไรแปลกๆ อุดตันอยู่หรือไม่ ส่วนปุ่มกดนั้นก็ลองกดดูว่าสามารถกดได้เป็นปกติหรือเปล่า
  • หน้าจอ สำหรับ iPhone 5 เครื่องใหม่แกะกล่อง จะต้องมีแผ่นพลาสติกใสปิดจอและฝาหลังอยู่ โดยจะไม่มีฟองอากาศอยู่ภายใน (หรือมีก็มีน้อยมาก) และต้องไม่เคยมีรอยแกะแผ่นพลาสติกมาก่อน
ขั้นตอนการตรวจรอบๆ ตัวเครื่อง สรุปง่ายๆ ก็คือตรวจให้แน่ใจว่าเครื่องไม่มีรอยกระแทก รอยขีดข่วน หรือจุดนูนๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นความผิดพลาดจากขั้นตอนการผลิตเท่านั้นเองครับ ไม่ยาก
3. เปิดเครื่องเช็คจอ
หลังจากตรวจสอบภายนอกไปแล้ว ก็ได้เวลาตรวจสอบจอภาพแล้วครับ ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบจอนี้ จะต้องย้ำกับพนักงานว่ายังไม่ต้อง Activate เครื่องนะครับ เพราะถ้า Activate ไปแล้ว ถ้าเครื่องมีปัญหา ส่วนใหญ่พนักงานจะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนเครื่องอีก เนื่องจากประกันของเครื่องเริ่มเดินหลังจากการ Activate หรือให้เปลี่ยนอีกอย่างมากก็ครั้งเดียว โดยที่ต้องตรวจสอบก็เช่น
  • Dead Pixel อันนี้ต้องใช้ความละเอียดของสายตาซักเล็กน้อย เพื่อเพ่งดูจุดต่างๆ บนหน้าจอว่ามีจุดไหนที่แสดงสีผิดเพี้ยนไปบ้าง เช่นรอบข้างเป็นสีเทาหมด แต่มีอยู่จุดหนึ่งเป็นสีดำ เบื้องต้นให้ลองเขี่ยๆ ดูก่อนครับว่าเป็นฝุ่นหรือเปล่า ถ้าพบว่าเป็น dead pixel ก็ขอเปลี่ยนเครื่องทันทีเลย
  • แสงและสีของจอ คราวนี้ก็ลองตรวจสอบเรื่องของแสงสว่างจากหลอดไฟที่ให้แสงกับจอกันบ้างครับ โดยสังเกตว่ามีจุดไหนของจอที่แสงสว่างหรือมืดผิดปกติหรือไม่ สังเกตดูขอบๆ จอว่ามีแสงลอด สีเพี้ยนหรือเปล่า
ส่วนเรื่องของซอฟต์แวร์การทำงานภายในนั้น โดยมาก iPad, iPhone มักจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้อยู่แล้ว หรือถึงมีโอกาสพบเจอปัญหาก็เพียงแค่ Restore เครื่อง ก็จะแก้ปัญหาได้ซะเป็นส่วนมากแล้ว (หรือถ้าไม่หายจริงๆ ก็ส่งเคลมในภายหลังได้)
4. ตรวจสอบอุปกรณ์เสริม
ทีนี้ก็มาตรวจสอบอุปกรณ์เสริมกันบ้าง โดยอุปกรณ์ที่มีมาในกล่อง iPhone 5s (หรือ iPhone 5c) ก็ได้แก่
  • สาย Lightning
  • อะแดปเตอร์
  • หูฟัง EarPods
  • เข็มจิ้มเพื่อดึงถาดใส่ซิม
  • คู่มือ เอกสารต่างๆ
  • สติ๊กเกอร์โลโก้ Apple
* ถ้าเป็น iPad จะไม่มีหูฟัง EarPods มาให้ และในรุ่น WiFi จะไม่มีเข็มจิ้มมาให้เช่นกัน
การตรวจสอบก็ไม่ยากครับ แค่เช็คว่ามีของครบหรือเปล่าเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่บรรดาอุปกรณ์เสริมที่แถมมาในกล่องมักจะไม่มีปัญหา หรือถ้าสามารถตรวจสอบได้ก็จะดีครับ เช่นพวกหูฟัง ย้ำว่าต้องเป็นแบบ EarPods เท่านั้น (แต่ถ้าเครื่องใหม่แกะกล่องคงไม่มีปัญหาอะไร) และหลังจากแน่ใจในตัวเครื่องโดยรวมแล้ว ก็เป็นขั้นตอนของการ Activate และรับเครื่องเป็นของเรา ซึ่งหลังจากขั้นตอนนี้ก็สามารถตรวจสอบส่วนอื่นๆ ได้แล้ว เช่นการโทรศัพท์ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การใช้งานทั่วๆ ไป ก็ให้ลองใช้งานดูครับว่ามีปัญหาอะไรหรือเปล่า ซึ่งถ้าใครที่ตั้งใจจะซื้อเครื่องเปล่าอยู่แล้ว เป็นไปได้ก็ควรจะเตรียมนาโนซิมที่จะใช้ไปให้พร้อม ส่วนใครที่ต้องการซื้อเครื่องพร้อมแพ็คเกจของแต่ละค่ายอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเตรียมไปก็ได้ครับ ส่วนพวก IMEI หรือ Serial Number นั้น ส่วนใหญ่เครื่องที่ซื้อกับผู้ให้บริการเครือข่ายอย่าง AIS, DTAC และ Truemove-H รวมไปถึง Apple Store หรือ iStudio นั้น มักจะไม่มีปัญหาเรื่องเลขที่ตัวเครื่องไม่ตรงกับข้างกล่องอยู่แล้ว ดังนั้นแทบจะตัดปัญหานี้ไปได้เลย
สรุปแล้วการตรวจสอบ iPad, iPhone ก่อนซื้อ โดยเฉพาะก่อนการ Activate จะเน้นไปที่การตรวจสอบตัวเครื่องภายนอกเป็นหลัก และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ iPad, iPhone ด้วย โดยถ้าตรวจพบ แนะนำว่าต้องรีบติดต่อเพื่อขอเปลี่ยนเครื่องกับพนักงานทันที แต่ในช่วงแรกนี้ เป็นไปได้ว่าเครื่องที่มีให้เลือกเปลี่ยนอาจจะมีน้อย ซึ่งถ้าเราขอเปลี่ยนหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้เครื่องที่พอใจ เราอาจจะพอขอคุยเพื่อยกเลิกการซื้อได้ เนื่องจากไม่พอใจตัวสินค้า แต่ทั้งนี้ก็คงต้องคุยกับทางผู้จัดการเป็นรายๆ ไป
นอกเหนือจากการเช็คหรือตรวจสอบทั้ง 4 ขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งข้อสำคัญก็คือ ตัวเราเองต้องมีสติในการซื้ออยู่ตลอดเวลา เพราะในกรณีบางคนเห็นของแล้วรีบตัดสินใจซื้อพร้อมจ่ายเงินในทันที ทำให้พลาดขั้นตอนในการตรวจสอบที่ครบถ้วนไป ซึ่งถ้าโชคดีก็อาจจะได้เครื่องที่สมบูรณ์ไป แต่ถ้าโชคร้ายได้เครื่องมีตำหนิหรือมีปัญหาไปก็คงจะโทษใครไม่ได้ นอกจากตัวเราเองที่ไม่ระวัง อีกทั้งยังส่งผลให้ทั้งเสียเวลาอีกครั้งในการนำเครื่องมาเคลมอีกด้วยครับ

ที่มา:
http://notebookspec.com/4-%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD-ipad-iphone-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/199579/

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของ mainboard


ส่วนประกอบของ mainboard







AGP Slot (Accelerator Graphic Port)

          เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X และล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น










ATX Power Connector

          ขั้วต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATXโดยที่พาวเวอร์ซัพพลาย จะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟ หลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย






BIOS (Basic Input Output )

          เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่น ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด






CMOS Battery

          แบตเตอรี่เบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามาร ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป




CPU Socket

          ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือPentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียูAMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง




Floppy Disk Connector

          คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็คเตอร์ จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1


IDE Connector

          เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดร์ฟอ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW และไดร์ฟ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสีแดงกับสีขาว)



PCI Slots (Peripherals component interconnect)

          สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ดSCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCI Busซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต


RAM Sockets

          เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม



System Panel Connector

          สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม สำหรับ System Panel นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่มรีเซ็ท (Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิทช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิทช์หรือ หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System Panel สวิทช์เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด





USB Port (Universal Serial Bus)

          พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ ซิพไดร์ฟ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต ยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ

Parallel Port

          พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป

Serial Port

          พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่

Video Port

          พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)

IEEE1394 Port

          เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า FireWire (บริษัทโซนี่เรียกว่า I-Link) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่น พอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วงกับ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Firewire โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับ กล้องดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากการที่ สามารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง

Line in / Line out / Microphone Jack

          สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ซาวน์ดการ์ดจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย ที่เรียกกันว่า Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน ลำโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป ทำให้ไม่ต้องซื้อซาวน์ดการ์ดเพิ่ม อย่างไรก็ดีถ้าคุณต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้เครื่องคอมกับการทำดนตรี หรืองานตัดต่อวิดีโอ ซาวน์การ์ดแบบติดตั้งเพิ่มก็ยังจำเป็น  


ข้อมูลจาก http://tumcomza.exteen.com/mainboard 


วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การตั้งค่าและความหมายของคำต่าง ๆ ใน BIOS




รู้จักกับ BIOS (Basic Input/Output System) กันไว้ก่อน
อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่เป็น ฮาร์ดแวร์ จะสามารถทำงานได้โดยต้องมี ซอฟท์แวร์ ประกอบด้วย สำหรับ BIOS (Basic Input/Out System) นี้จะเป็นที่เก็บ ซอฟท์แวร์ ขนาดเล็ก ๆ ไว้ในชิป ROM (เป็นแบบ EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) เพื่อใช้สำหรับทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผ่น floppy disks (FDD) หรือจาก hard disks (HDD) โดยที่ BIOS จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการ POST (Power-On Self Test) ก่อนที่จะเรียกใช้ ซอฟท์แวร์ ที่เป็น Operating System เช่น DOS หรือ Windows จาก FDD หรือ HDD เพื่อทำการเริ่มต้นเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้ต่อไป
นอก จากนี้ BIOS ยังเป็นตัวกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะควบคุมการทำงานของ Keyboard, ควบคุมการทำงานของ Serial Port, Parallel Port, Video Card, Sound Card, HDD Controller และอื่น ๆ ในบางครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ เมื่อมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาหาก BIOS ไม่สามารถรู้จักและใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุใน BIOS ให้รู้จักกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ นั้นด้วยที่เรียกกันว่า Flash BIOS นั่นเอง
สำหรับ ปัจจุบันนี้ BIOS จะเก็บไว้ใน EPROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ปกติจะใช้สำหรับอ่านได้อย่างเดียว (ส่วนใหญ่จะเป็นไอซีตัวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่บนเมนบอร์ด) โดยที่เราสามารถทำการ ลบข้อมูลและโปรแกรมข้อมูล ลงไปใหม่ได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการ Flash BIOS นั้น ๆ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของ BIOS EPROM และเมนบอร์ดด้วยนะครับว่าสามารถ Flash ได้หรือเปล่าโดยวิธีการง่าย ๆ คือตรวจสอบจากเวปไซต์ของผู้ผลิดเมนบอร์ดนั้น ๆ (โดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดสำหรับ Pentium ขึ้นไปส่วนใหญ่จะทำการ Flash ได้แล้ว)

โดย ปกติแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีการตั้งค่า Configuration ที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งค่าเหล่านี้จะถูก BIOS เก็บไว้ในส่วนของ CMOS RAM ประมาณ 64 Bytes ซึ่ง CMOS นี้จะต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาจาก แบตเตอรี่ เพื่อให้ค่าที่ตั้งไว้ไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของ CMOS นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้พลังงานน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถใช้งานได้นานโดยไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ๆ
เพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องทำการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ให้เหมาะสมเช่น ค่าความเร็วของการอ่านข้อมูลจาก Memory การตั้ง Enabled หรือ Disabled อุปกรณ์ต่าง ๆ, ความเร็วของ PCI BUS, ชนิดของ Floppy Disk หรือ Hard Disk ที่ใช้งาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น SCSI และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Megatrends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วย


วิธีการหายี่ห้อของ Main Board จากตัวเลขของ BIOS
ของแถมครับ สำหรับท่านที่ไม่ทราบว่า เมนบอร์ดที่ท่านใช้งานอยู่นี้ เป็นยี่ห้ออะไรหรือรุ่นไหน จะหา Download คู่มือต่าง ๆ ได้จากที่ไหนบ้าง แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่า อาจจะไม่สามารถหาได้ทั้งหมด หรือบางครั้งทราบยี่ห้อและรุ่นแล้ว แต่หาเวปไซต์ผู้ผลิตเมนบอร์ดรุ่นนั้น ๆ ไม่ได้แล้วก็มี

  • เริ่ม ต้นจาก สังเกตุหน้าจอตอน Boot เครื่องครั้งแร กนะครับ จะมีข้อมูลต่าง ๆ ทั้งของการ์ดจอที่ใช้ ยี่ห้อของ BIOS ความเร็วของ CPU และรวมถึงหมายเลขของ BIOS ด้วย ปกติจะอยู่ประมาณด้านล่างซ้ายมือ เช่นของผมจะเป็นเลข “2A59GV5C-00″ ถ้าหากเมนบอร์ดของคุณเป็นรุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็อาจจะมียี่ห้อหรือรุ่นและ web ผู้ผลิตให้ด้วย
  • หรือหา Download โปรแกรมตรวจเช็คหมายเลขของ BIOS ได้ที่ ftp://ftp.heise.de/pub/ct/ctsi/ctbios15.zip
  • ไปค้นหายี่ห้อ รุ่นของเมนบอร์ดได้ที่เวปไซต์นี้ โดยทำการเทียบหมายเลขของ BIOS นะครับ http://www.wimsbios.com
  • เมื่อค้นหาได้แล้ว ก็จะทราบว่าเป็นเมนบอร์ด ยี่ห้อหรือรุ่นอะไรก็ไปที่เวปไซต์นั้น ๆ ได้เล





การตั้งค่าและความหมายของคำต่าง ๆ ใน BIOS ที่ควรทราบ
โดยปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ใน BIOS บ่อยนัก ยกเว้นเมื่อเราต้องการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ๆ เช่น CPU, RAM หรือ Hard Disk เป็นต้น

การเข้าสู่ BIOS Setup Mode
สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้าไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่องจะตั้งไว้อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น “Press DEL Key to Enter BIOS Setup” เป็นต้น

ปุ่ม Key ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการ Setup BIOS ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเดียวกัน โดยจะมีรูปแบบทั่วไปดังนี้
Up, Down, Left, Right ใช้สำหรับเลื่อนเมนูตามต้องการ
Page Up, Page Down ใช้สำหรับเพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าตามต้องการ
ESC Key ใช้สำหรับย้อนกลับไปเมนูแรกก่อนหน้านั้น
Enter Key ใช้สำหรับเลือกที่เมนูตามต้องการ
F1, F2 ถึง F10 ใช้สำหรับการทำรายการตามที่ระบุในเมนู BIOS Setup
ตัวอย่างการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS Setup
สำหรับตัวอย่างต่อไปนี้ผมนำมาให้ดูแบบรวมทั่ว ๆ ไปของ BIOS เท่าที่หาข้อมูลได้นะครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคล้าย ๆ กัน เริ่มจากหลังจากที่กด DEL หรือ Key อื่น ๆ ขณะเปิดเครื่องเพื่อเข้าสู่ BIOS Setup Mode โดยปกติแล้ว ถ้าหากเป็นการตั้งค่าครั้งแรก หลังจากที่ทำการ Reset CMOS แล้ว ก็เลือกที่เมนู Load BIOS Default Setup หรือ Load BIOS Optimal-performance เพื่อเลือกการตั้งค่าแบบกลาง ๆ ของอุปกรณ์ทั่วไปก่อน จากนั้นจึงมาทำการเลือกแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่ละค่า ตามเมนูต่อไปนี้



Standard CMOS Setup
Date และ Timeใส่ วันที่ และ เวลา ปัจจุบัน
Hard Diskกำหนดขนาดของ HDD (Hard Disk) ว่ามีขนาดเท่าไร โดยเลือกตั้งค่าเองแบบ User, แบบอัตโนมัติ Auto หรือไม่ได้ติดตั้งก็เลือกที่ None
Primary / Masterอุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE แรก แบบ Master
Primary / Slaveอุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE แรก แบบ Slave
Secondary / Masterอุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE ที่สอง แบบ Master
Secondary / Slaveอุปกรณ์ที่ต่อกับ IDE ที่สอง แบบ Slave
- Cylsจำนวน cylinders ใส่ตามคู่มือ HDD
- Headsจำนวน heads ใส่ตามคู่มือ HDD
- Precompwrite precompensation cylinder ไม่ต้องกำหนดหรือใส่ตามคู่มือ HDD
- Landzlanding zone ไม่ต้องกำหนด หรือใส่ตามคู่มือ HDD
- Sectorsจำนวน sectors ใส่ตามคู่มือ HDD
Modeถ้าหากทราบค่าที่แน่นอนให้ใส่เป็น User แต่ถ้าไม่แน่ใจ ให้ตั้ง Auto ไว้
- Auto BIOSจะทำการตรวจสอบและตั้ง Mode ของ HDD อัตโนมัติ
- Normalสำหรับ HDD ที่มี clys,heads,sectors ไม่เกิน 1024,16,63
- Largeสำหรับ HDD ที่มี cyls มากกว่า 1024 แต่ไม่ support LBA Mode
- LBALogical Block Addressing สำหรับ HDD ใหม่ ๆ จะมีการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า
Drive A: B:ชนิดของ Diskette Drives ที่ติดตั้งใช้งาน 360K, 720K, 1.2M หรือ 1.44M
Videoชนิดของจอแสดงภาพ (ปกติจะเป็น EGA/VGA)
Halt Onกำหนดการ Stop หากพบ Error ขณะที่ POST (Power-On Seft Test)
- All errorsการ POST จะหยุดและแสดง prompts ให้เลือกการทำงานต่อไปทุก Error
- All, But Keyการ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Keyboard Error
- All, But Diskการ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Disk Drive Error
- All, But Disk/Keyการ POST จะไม่หยุดกรณีของการเกิด Keyboard Error หรือ Disk Error
Memoryจะแสดงขนาดของ Memory ที่ใส่อยู่ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- Base Memoryโดยปกติจะเป็น 640K สำหรับ DOS
- Extendedคือ Memory ในส่วนที่สูงกว่า 1M ขึ้นไป
- Other Memoryหมายถึงส่วนของระหว่าง 640K ถึง 1M
BIOS Features Setup
Virus Warningการเตือนเมื่อมีการเขียนข้อมูลทับ Boot Record ของ HDD [Enabled]
CPU Int / Ext cacheการใช้งาน CPU Internal / External Cache [Enabled]
CPU L2 Cache ECC Checkการใช้ External Cache แบบ ECC SRAMs
Quick Power On Seft Testการทำ POST แบบเร็ว [Enabled]
Boot Sequenceเลือกลำดับของการบูทเช่นจาก C:, A: หรือ IDE-0, IDE-1 [C: A:]
Swap Floppy Diskกำหนดการสลับตำแหน่ง Drive A: เป็น Drive B: [Disabled]
Boot Up Floppy Seekการตรวจสอบชนิดของ Disk Drive ว่าเป็นแบบใด [Disabled]
Boot Up NumLock Statusกำหนดการทำงานของ Key NumLock หลังจากเปิดเครื่อง [Disabled]
Boot Up System Speedกำหนดความเร็ว CPU หลังจากเปิดเครื่อง [High]
Gate A20 Optionการเข้าถึง Address memory ส่วนที่สูงกว่า 1M [Fast]
Typematic Rate Settingกำหนดความเร็วของการกด Key [Enabled]
Typematic Rate (Chars/Sec)กำหนดความเร็วของการกด Key [6]
Typematic Delay (Msec)กำหนดค่า delay ของการกด Key [250]
Security Optionกำหนดการตั้งรหัสผ่านของการ Setup BIOS หรือ System [Setup]
PS/2 Mouse Controlกำหนดการใช้งาน PS/2 Mouse [Disabled]
PCI/VGA Palette Snoopแก้ปัญหาการเพี้ยนของสีเมื่อใช้การ์ดวีดีโออื่น ๆ ร่วมด้วย [Disabled]
Assign IRQ for VGAกำหนดการใช้ IRQ ให้กับการ์ดจอ [Enabled]
OS Select for DRAM > 64Mการกำหนดหน่วยความจำสำหรับ OS2 [Non-OS]
HDD S.M.A.R.T capabilitySelf-Monitering Analysis and Reporting Technology ควรเลือก [Enabled]
Video BIOS Shadowกำหนดให้ทำ Shadow กับ ROM จากการ์ดแสดงผล C0000-C4000 ควรเลือก [Enabled
Adapter ROMกำหนดให้ทำ Shadow กับ ROM จากการ์ดที่เสียบเพิ่มเติม
- C8000ใช้กับการ์ดแสดงผลชนิด MDA (จอเขียว)
- CC000ใช้กับการ์ด controller บางประเภท [Disabled]
- D0000ใช้กับการ์ด LAN [ถ้าไม่ใช้ตั้ง Disabled]
- D4000ใช้กับ controller สำหรับ Disk Drive ชนิดพิเศษ [Disabled]
- D8000ตั้ง [Disable]
- DC000ตั้ง [Disable]
- E0000ตั้ง [Disable]
- E4000ตั้ง [Disable]
- E8000ตั้ง [Disable]
- EC000ใช้กับการ์ด controller ชนิด SCSI [หากไม่ได้ใช้ตั้ง Disable]
System ROMการทำ Shadow กับ ROM ของ BIOS ที่ F000 [Enabled]
Chipset Features Setup
Auto Configurationคือให้ BIOS จัดการค่าต่างๆโดยอัตโนมัติซึ่งจะเป็นค่ากลาง ๆ
Hidden Refreshการเติมประจุไฟของ DRAM [Enabled]
Slow Refreshให้ DRAM ลดความถี่ในการเติมประจุไฟลง 2 – 4 เท่า [เลือก Enabled ถ้าไม่มีปัญหาในการใช้งาน]
Concurrent Refreshการอ่าน-เขียนข้อมูล ได้พร้อมๆกับการเติมประจุไฟใน DRAM [เลือก Enabled ถ้าไม่มีปัญหาในการใช้งาน]
Burst Refreshการเติมประจุไฟลง DRAM ได้หลายๆ รอบในการทำงานครั้งเดียว [เลือก Enabled ถ้าไม่มีปัญหาในการใช้งาน]
DRAM Brust at 4 Refreshจำนวนการ Burst Refresh เป็น 4 รอบในการทำงาน 1ครั้ง [Enabled]
Staggered Refreshการเติมประจุล่วงหน้าใน DRAM ใน Bank ถัดไปด้วย [Enabled]
Refresh RAS Active Timeให้ทดลองกำหนดค่าน้อยที่สุดเท่าที่เครื่องจะสามารถทำงานได้
AT Cycle Wait Stateเวลาที่รอให้การ์ด ISA พร้อม ให้ตั้งค่าที่น้อยสุดเท่าที่เครื่องทำงานได้
16-Bit Memory, I/O Wait Stateเวลาที่ซีพียูต้องรอระหว่างรอบการทำงาน ตั้งน้อยที่สุดที่ทำงานได้
8-Bit Memory, I/O Wait Stateเวลาที่ซีพียูต้องรอระหว่างรอบการทำงาน ให้ตั้งน้อยสุดที่ทำงานได้
DMA Clock Sourceกำหนดความเร็วของอุปกรณ์ DMA โดยมีค่าปกติคือ 5 MHz
Memory Remappingหากเปิดการทำงานนี้ไว้จะทำ Shadows กับ BIOS ใดๆ ไม่ได้ [Disable]
Cache Read Hit Burst หรือ SRAM Read Wait Stateระยะพักรอเมื่ออ่านข้อมูลลงใน L1 Cache ให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
Cache Write Hit Burst หรือ SRAM Write Wait Stateระยะพักรอเมื่ออ่านข้อมูลลงใน L1 Cache ให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ทำงานได้
Fast Cache Read / Writeให้แคชทำงานโหมดความเร็วสูง จะมีผลเมื่อแคชมีขนาด 64 KB หรือ 256 KB
Tag Ram Includes Ditryให้แคชทำงานในโหมดเขียนทับโดยไม่ต้องย้าย/ลบข้อมูลเดิมออกก่อน หากมี Ram น้อยกว่า 256 MB ควรใช้ Dirty Bit
Non-Cacheable Block-1 Sizeกำหนดขนาดหน่วยความจำที่ห้ามทำแคช [OK หรือ Disabled]
RAS to CAS Delay Timeค่าหน่วงเวลาก่อนที่จะสลับการทำงาน RAS-CAS ตั้งค่าน้อยที่สุด เท่าที่ทำงานได้
CAS Before RASการสลับลำดับการทำงานระหว่าง RAS และ CAS
CAS Width in Read Cycleกำหนดค่าหน่วงเวลาก่อนที่ซีพียูจะเริ่มอ่านข้อมูลใน DRAM ตั้งน้อยที่สุดที่ทำงานได้
Interleave Modeให้ซีพียูอ่าน – เขียนข้อมูลจาก DRAM ในโหมด Interleave
Fast Page Mode DRAMให้หน่วยความจำทำงานแบบ FPM โดยไม่ต้องอาศัย RAS และ CAS ซึ่งจะเร็วกว่า
SDRAM CAS Latency Time หรือ SDRAM Cycle Lengthระยะ รอบการทำงานของ CAS latency ใน SDRAM ตั้งค่าน้อยที่สุด หรือใช้ค่า 2 กับ RAM ชนิด PC100 และใช้ค่า 3 กับ RAM ชนิด ความเร็วแบบ PC66/83
Read Around Writeกำหนดให้ซีพียูอ่าน – เขียนข้อมูลจากหน่วยความจำได้ในคราวเดียวกัน [Enabled]
DRAM Data Integrity Modeเลือก Non-ECC หรือ ECC ตามขนิดของ SDRAM
System BIOS Cacheableการทำแคชของ System BIOS ROM #F0000-FFFFF [Enabled]
Video BIOS Cacheableการทำแคชของ Video BIOS ROM [Enabled]
Video RAM Cacheableการทำแคชของ Video RAM #A0000-AFFFF [Enabled ถ้าไม่มีปัญหา]
Memory Hole at 15M-16Mการจองพื้นที่สำหรับ ISA Adapter ROM [Enabled]
Passive Releaseกำหนด CPU to PCI bus accesses ช่วง passive release [Enabled]
Delayed Transactionเลือก Enable สำหรับ PCI version 2.1
AGP Aperture Size (MB)กำหนดขนาดของ AGP Aperture กำหนดเป็นครึ่งหนึ่งของ RAM ทั้งหมด



Power Management
Max Savingกำหนดการประหยัดพลังงานแบบ สูงสุด
User Defineกำหนดการประหยัดพลังงานแบบ ตั้งค่าเอง
Min Savingกำหนดการประหยัดพลังงานแบบ ต่ำสุด
PM Control by APMกำหนดให้ควบคุมการประหยัดพลังงานผ่านทางซอฟท์แวร์ APM
Video Off Methodกำหนดวิธีการปิดจอภาพเมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน
- V/H SYNC + Blankจะปิดการทำงาน V/H SYNC และดับจอภาพด้วย Blank Screen
- DPMSสำหรับการ์ดแสดงผลและจอภาพที่สนับสนุนโหมด DPMS
- Blank Screenจะทำการแสดงหน้าจอว่าง ๆ เมื่อประหยัดพลังงาน สำหรับจอรุ่นเก่า ๆ
Video Off Afterให้ปิดจอภาพเมื่อเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานแบบ Stanby หรือ Suspend
Standby Modeกำหนดระยะเวลาเมื่อพบว่าไม่มีการใช้งาน จะหยุดทำงานของอุปกรณ์บางส่วน
Supend Modeจะตัดการทำงานบางส่วนคล้าย Standby Mode แต่หยุดอุปกรณ์ที่มากกว่า
HDD Power Downกำหนดระยะเวลาก่อนที่ BIOS จะหยุดการทำงานของ HDD
Resume by Ringเมื่อ Enabled สามารถสั่งให้ทำงานจาก Soft Off Mode ได้
Resume by Alarmเมื่อ Enabled สามารถตั้งเวลาทำงานจาก Suspend Mode ได้
Wake Up On LANเมื่อ Enabled สามารถสั่งให้ทำงานจาก Soft Off Mode ได้
Integrated Peripherals
IDE HDD BLOCKS MODEให้ HDD อ่าน-เขียนข้อมูลได้ครั้งละหลาย Sector พร้อมกัน [Enabled]
IDE PIO Mode…กำหนดการทำงานแบบ Programe Input/Output [ตั้งสูงสุดหรือ Auto]
IDE UDMA…กำหนดการทำงานแบบ DMA หรือ UDMA [Enabled หรือ Auto]
On-Chip PCI IDEกำหนดการใช้ช่องเสียบ HDD IDE ที่อยู่บนเมนบอร์ด [Enabled]
USB Keyboard Supportกำหนดให้ใช้ Keyboard แบบ USB [Enabled]
Onboard FDC Controllerกำหนดให้ใช้ช่องเสียบ Disk Drive ที่อยู่บนเมนบอร์ด [Enabled]
Onboard Serial Port 1กำหนดค่าแอดเดรสและ IRQ ให้ COM1 ค่าปกติคือ 3F8/IRQ4
Onboard Serial Port 2กำหนดค่าแอดเดรสและ IRQ ให้ COM2 ค่าปกติคือ 2F8/IRQ3
Parallel Port Modeกำหนดโหมดการทำงานของพอร์ตขนานได้ใน 3 แบบ [EPP&ECP]
- SPP (Standard Parallel Port)คือโหมดมาตรฐานเหมาะแก่เครื่องพิมพ์รุ่นเก่าๆ
- EPP (Enhanced Parallel Port)คือโหมด 2 ทิศทางเหมาะแก่เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่
- ECP (Extended Cap. Port)คือโหมดความเร็วสูง เมื่อต่อพ่วงกับ Scanner, Laplink ฯลฯ
ECP MODE USE DMAคือกำหนด DMA สำหรับ Port ขนานแบบ ECP ซึ่งค่าปกติคือ 3
การตั้งค่าอื่น ๆ
Load BIOS Default Setup
เมื่อกดเลือกที่นี่ BIOS จะทำการตั้งค่าต่าง ๆ ให้เป็นแบบกลาง ๆ สำหรับอุปกรณ์ทั่ว ๆ ไป หรือเป็นการตั้งค่าแบบ Factory Setup ก็ได้
Load BIOS Optimize Setup
เมื่อกดเลือกที่นี่ BIOS จะทำการตั้งค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
Password Setting
ใช้สำหรับการตั้ง Password เมื่อต้องการจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS หรือเมื่อต้องการจะเปิดเครื่อง โดยปกติเมื่อใส่ Password ระบบจะให้ใส่ Confirm ซ้ำ 2 รอบเพื่อป้องกันการใส่ผิดพลาด (ไม่ใส่อะไรเลย คือการยกเลิก password)
HDD Low Level Format
เป็นเมนูสำหรับทำ Low Level Format ของ Hard Disk ซึ่งใช้สำหรับทำการ Format Hard Disk แบบระดับต่ำสุด ซึ่งถ้าหากไม่มีปัญหาอะไรกับ Hard Disk ก็ไม่จำเป็นต้องทำ
Exit with Save Setting หรือ Exit without Save Setting
เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการตั้งค่าต่าง ๆ ของ BIOS แล้วต้องทำการ Save เก็บไว้ด้วยนะครับ ส่วนใหญ่เมื่อทำการ Save แล้วจะบูทเครื่องใหม่ ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้จึงจะใช้งานได้
CPU Setup
นอกจากนี้ ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นแบบ Jumper Free (ไม่ใช้ Jumper แต่จะใช้เมนูใน BIOS สำหรับตั้งค่าต่าง ๆ ) จะสามารถตั้งค่าของความเร็ว CPU, ค่า multiple หรือ FSB, ค่าไฟ Vcore และอื่น ๆ อีกแล้วแต่รุ่นของเมนบอร์ดนั้น ๆ


วิธีการลบหรือยกเลิก Password ใน BIOS เมื่อลืมหรือไม่ทราบ
โดยปกติแล้ว หากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คนเดียว ก็คงไม่มีความจำเป็นต้องตั้ง Password สำหรับเข้าไป Setup BIOS หรือเปิดเครื่อง แต่ถ้าหากได้เคยตั้งไว้แล้วลืม หรือได้เมนบอร์ดมาโดยที่มีการตั้ง Password ไว้และไม่รู้ว่าใช้ Password อะไร ก็มีวิธีการที่จะ Reset หรือ Clere Password ซึ่งอาจจะต้องลองหลาย ๆ วิธีดูนะครับเท่าที่ได้รวบรวมมาดังนี้

ถ้าคุณไม่ได้ตั้ง password เอง ให้ลองใช้ Default Password เหล่านี้ดูก่อน เพราะอาจจะเป็น password ที่ตั้งมาตั้งแต่แรกก็ได้ (Case Sensitive)
  • AMI
  • Award
  • bios
  • setup
  • cmos
  • AMI_SW
  • AMI!SW/
  • AMI?SW/
  • AWARD_SW
ทำการ Reset โดยการ Clear CMOS ดังนี้
  • มอง หา jumper สำหรับ Reset CMOS ก่อนโดยดูจากคู่มือ หรืออาจจะมองหา jumper ใกล้ ๆ กับแบตเตอรี่ของ CMOS ก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น jumper 3 ขา
  • วิธีการ Reset คือทำการ jump ให้ตรงข้ามกับปกติ คือถ้าหากเดิมมีการ jump อยู่ที่ 1-2 ก็เปลี่ยนมาเป็น 2-3 หรือถ้าปกติ jump อยู่ที่ 2-3 อยู่แล้วก็เปลี่ยนเป็น 1-2
  • จากนั้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทิ้งไว้สัก 5-10 วินาที ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
  • เปลี่ยน jumper กลับมาที่เดิม Password จะถูก Reset
ทำการถอดแบตเตอรี่ของ CMOS ออก
ถ้า หากไม่สามารถหา jumper สำหรับ Reset CMOS ได้อาจจะมีอีกวิธี คือทำการถอดแบตเตอรี่ของ CMOS ออกสัก 5 นาทีแล้วก็ใส่เข้าไปใหม่ จะเป็นการตั้งค่าทุกอย่างของ BIOS กลับไปเป็น Default ได้ แต่เมนบอร์ดบางรุ่น จะยังมี Password อยู่โดยจะเป็น Default Password ตามด้านบนนะครับ หลังจากใส่แบตเตอรี่แล้วก็ถ้ายังถาม Password อีกให้ลองใส่ Default Password ข้างบนดู
ใช้โปรแกรม Reset CMOS เพื่อทำการลบ password
โดยการใช้โปรแกรม มาทำการรัน เพื่อลบ password ซึ่งวิธีนี้ผมเองก็ยังไม่เคยใช้ ถ้าหากไม่มีวิธีอื่น ๆ แล้วก็ลองกันดูครับ ตัวโปรแกรมที่ว่าเคยเห็นจาก http://www.thaiware.com ครับ
ใช้โปรแกรม CMOSPWD สำหรับการดู password ที่ตั้งไว้
โดยการใช้โปรแกรม CMOSPWD มารันใน DOS Mode ซึ่งจะทำให้เราเห็นข้อมูลของ password ได้ แต่ต้องทราบรุ่นของ bios ที่ใช้งานด้วยนะครับ ตัวโปรแกรมนี้หาได้ที่ http://www.tweakfiles.com ครับ
ใช้ debug ในการลบ password
อีกวิธีหนึ่งครับ โดยการเรียกโปรแกรม debug ที่จะมีอยู่ใน DOS และสั่งคำสั่งต่าง ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. บูตเครื่องโดยให้เข้าที่ DOS Mode โดยการกด Ctrl ค้างขณะบูต และเลือกเข้า DOS Prompt
2. พิมพ์คำว่า debug และกด Enter จะขึ้นเครื่องหมาย – รออยู่
3. พิมพ์คำว่า o 70 2e และกด Enter ( ตัวอักษร โอ เจ็ดศูนย์ สองหนึ่ง นะครับ)
4. พิมพ์คำว่า o 71 ff และกด Enter
5. กด q และกด Enter ครับ
6. จากนั้น บูตเครื่องใหม่ ถ้าใช้งานได้ ก็จะไม่มีการถามรหัสผ่านเข้า bios อีกแล้ว


ความหมายของเสียงบอกข้อผิดพลาดใน BIOS เมื่อมีปัญหาเวลาเปิดเครื่อง
ความหมายของเสียงหรือข้อความแจ้งการผิดพลาดของ BIOS (AMI BIOS และ Award BIOS) ไปเจอมาเลยนำมาฝากกัน ขอไม่แปลเป็นภาษาไทยนะครับ เพื่อคงความหมายเดิม ๆ ให้มากที่สุด

AMI BIOS
Audio Beep Errors : AMI BIOS
Number of Beeps
Description of Problem
Solution
1 beep
DRAM refresh failure
Try re-seating the memory first. If the error still occurs, replace the memory with known good chips.
2 beeps
Parity Circuit Failure
3 beeps
Base 64K RAM failure
4 beeps
System Timer Failure
Send System Board in for Repair
5 beeps
Processor Failure
6 beeps
Keyboard Controller / Gate A20 Failure
Try re-seating the keyboard controller chip. If the error still occurs, replace the keyboard chip. If the error persists, check parts of the system relating to the keyboard, e.g. try another keyboard, check to see if the system has a keyboard fuse.
7 beeps
Virtual Mode Exception Error
Send System Board in for Repair
8 beeps
Display Memory Read/Write Failure
Indicates a memory error on the video adapter. Try re-seating the video card. If it still beeps, try replacing the video card or the memory on the video card.
9 beeps
ROM BIOS Checksum Failure
Indicates faulty BIOS chip(s). It is not likely that this error can be corrected by re-seating the chips. Consult the motherboard supplier or an AMI product distributor for replacement part(s).
10 beeps
CMOS Shutdown Register Read/Write Error
Send System Board in for Repair
1 long 2 short
Video failure
Reseat the video board – replace if board is determined to be faulty.
1 long 3 short
Video failure
1 long
POST passed.
No Errors
Error Messages/Codes : AMI BIOS
Error Message
Problem
Solution
CH-2 Timer Error
Non fatal. Could be caused by a peripheral.
INTR #1 Error
Interrupt Channel 1 has failed the POST test
Check system boards for IRQs 0-7.
INTR #2 Error
Interrupt Channel 2 has failed the POST test
Check system boards for IRQs 8-15.
CMOS Battery State Low
Replace battery.
CMOS Checksum Failure
A checksum is generated when CMOS values are saved for error checking on subsequent startups. This error message will appear if the checksum is different from one boot-up to the next.
Run the setup program again to correct the problem.
CMOS Memory Size Mismatch
Usually caused when you add or remove memory from your system but could be caused by memory that has failed.
Run setup.
CMOS System Optons Not Set
CMOS values are either corrupt or do not exist.
Run Setup.
Display Switch Not Proper
Many motherboards have a jumper setting that allows you to specify whether you have a color or monochrome monitor.
Correct the switch position.
Keyboard is locked … Unlock it
Unlock the keyboard.
Keyboard Error
There is a problem with the keyboard
Make sure your keyboard BIOS is compatible, that the keyboard is plugged in completely, and that no keys are stuck. Or, change the BIOS keyboard setting to “Not Installed” to skip the test.
K/B Interface Error
There is a problem with the keyboard connector on the motherboard.
FDD Controller Failure
The BIOS cannot communicate with the floppy drive controller.
The floppy may be disabled, also check that the cable is not loose.
HDD Controller Failure
As above, but for hard disks.
C: Drive Error
The system cannot get a response from drive C.
The hard disk type is most likely set incorrectly, or the disk may not be formatted or connected properly.
D: Drive Error
Same as above except for drive D.
Same as above.
C: Drive Failure
The drive was detected but failed. More serious than error.
D: Drive Failure
Same as above.
CMOS Time and Date Not Set
Run Setup
Cache Memory Bad, do Not Enable Cache!
Cache may indeed be bad, if so replace. May simply need re-seating.
8042 Gate-A20 Error!
The Gate-A20 portion of the keyboard controller has failed.
Replace the keyboard chip (8042)
Address Line Short
There is a problem with the memory address decoding circuitry.
Try rebooting, (turn the system off and then on 10 seconds later). The problem may correct itself.
DMA #1 Error
There is an error in the first DMA channel on the motherboard
Could be caused by a peripheral device.
DMA Error
There is an error within the DMA controller on the motherboard.
No ROM Basic.
There is nothing to boot from. (i.e.- the system cannot find an operating system).
Be certain that a bootable disk is defined in the system setup.
Diskette Boot Failure
The diskette in the specified boot-up drive is corrupt.
Invalid Boot Diskette
Same as above, but the disk is readable.
On Board Parity Error
There is a parity error with memory on the motherboard at address XXXX (hex). (On Board specifies that the memory is not on an expansion board, but rather is located on the motherboard physically).
Possibly correctable with software from the motherboard manufacturer. (also do a Virus Check – some viruses cause parity errors).
Off Board Parity Error
There is a parity error with memory installed in an expansion slot at address XXXX (hex)
Same as above.
Parity Error
There is a parity error with memory somewhere in the system.
Same as above.
Memory Parity Error at XXXX
Memory has failed. If it cannot be determined, it is displayed as XXXX, if not, as ????
Same as above.
I/O Card Parity Error at XXXX
Same as above.
Same as above.
DMA Bus Time-out
A device has driven the bus signal for more than 7.8 microseconds.
Troubleshoot all system boards. (remove them and try to isolate the failure)
Memory mismatch, run Setup
Disable Memory Relocation if possible.
EISA CMOS Checksum Failure
The checksom for EISA CMOS is bad, or the battery is bad.
EISA CMOS Inoperational
A read/write failure occured in extended CMOS RAM.
The battery may be bad.
Expansion Board not ready at Slot X
AMI BIOS cannot find the expansion board in X slot.
Verify that the board is in the correct slot and is seated properly.
Fail-Safe Timer NMI Inoperational
Devices that depend on the fail-safe NMI timer are not operating correctly.
ID information mismatch for Slot X
The ID of the EISA expansion board in slot X does not match the ID in CMOS RAM.
Invalid Configuration Information for Slot X
The configuration information for EISA board X is not correct.
Run the ECU.
Software Port NMI Inoperational
The software port NMI is not working.
BUS Timeout NMI at Slot X
There was a bus timeout NMI at Slot X.
(E)nable (D)isable Expansion Board?
Type E to enable the board that had an NMI or D to disable it.
Expansion Board disabled at Slot X
The expansion board NMI was generated from slot X.
Fail-Safe Timer NMI
A fail-safe timer NMI has been generated.
Software Port NMI
A software port NMI has been generated.
Award BIOS ISA/EISA v4.5x
Audio Beep Errors : Award BIOS
Number of Beeps
Description of Problem
Solution
1 long, 2 short
Video error
Reseat the video card – replacement may be necessary if it is faulty.
Error Messages/Codes : Award BIOS
Error Message
Problem
Solution
CMOS BATTERY HAS FAILED
CMOS battery is no longer functional.
Replace battery.
CMOS CHECKSUM ERROR
Checksum of CMOS is incorrect. This can indicate that CMOS has become corrupt. This error may have been caused by a weak battery.
Check battery and replace it if necessary.
DISK BOOT FAILURE, INSERT SYSTEM DISK AND PRESS ENTER
No boot device was found. This could mean that either a boot drive was not detected or the drive does not contain proper system boot files.
Insert a system disk into Drive A: and press Enter. If you assumed the system would boot from the hard drive make sure the controller is inserted correctly and all cables are properly attached. Also be sure the disk is formatted as a boot device. Then reboot the system.
DISKETTE DRIVES OR TYPES MISMATCH ERROR – RUN SETUP
Type of diskette drive installed in the system is different from the CMOS definition.
Run Setup and enter the drive type correctly.
DISPLAY SWITCH IS SET INCORRECTLY
Many motherboards have a jumper or switch that allows you to specify whether you have a monochrome or color video board.
Check the jumper or switch and correct it’s position.
DISPLAY TYPE HAS CHANGED SINCE LAST BOOT
Since you last shut the system down, the display had been changed.
Run Setup and reconfigure display if possible.
EISA Configuration Checksum Error
The EISA non-volatile RAM checksum is incorrect or cannot correctly read the EISA slot.
Run the EISA Configuration Utility. Either the EISA non-volatile memory has become corrupt or the slot has been configured incorrectly. Also make sure the card is installed firmly in the slot. When this error appears, the system will boot in ISA mode, which allows you to run the EISA Configuration Utility.
EISA Configuration is Not Complete
The slot configuration information stored in the EISA non-volatile memory is incomplete. When this error appears, the system will boot in ISA mode, which allows you to run the EISA Configuration Utility.
Run the EISA Configuration Utility.
ERROR ENCOUNTERED INITIALIZING HARD DRIVE
The hard drive cannot be initialized.
Be sure the adaptor/controller is installed correctly and that all cables are correctly and firmly attached. Also make sure the correct hard drive type is selected in Setup.
ERROR INITIALIZING HARD DRIVE CONTROLLER
Cannot initiallize the controller card.
Make sure the card is correctly and firmly seated in the system board. Be sure the correct hard drive type is selected in Setup. Also check to see if any jumpers need to be set on the hard drive.
FLOPPY DISK CNTRLR ERROR OR NO CNTRLR PRESENT
Cannot find or initialize the floppy drive controller.
Make certain the controller is installed correctly and firmly. If there are no floppy drives installed, be sure the Diskette Drive selection in Setup is set to NONE.
Invalid EISA Configuration
The non-volatile memory containing EISA configuration information was programmed incorrectly or has become corrupt.
Re-run EISA Configuration Utility to correctly program the memory. When this error occurs, the system will boot in ISA mode which allows you to run the EISA Configuration Utility.
KEYBOARD ERROR OR NO KEYBOARD PRESENT
Cannot initialize the keyboard.
Make sure the keyboard is attached correctly and that no keys are stuck or are being pressed during the boot. If you are purposely configuring the system without the keyboard, set the error halt condition in Setup to HALT ON ALL, BUT KEYBOARD. This will cause the BIOS to ignore the missing keyboard and continue the boot.
Memory Address Error at XXXX
Indicates a memory address error at XXXX location.
Use the location along with the memory map for your system to find and replace the bad memory chips.
Memory parity Error at XXXX
Indicates a memory parity error at XXXX location.
Same as Above.
MEMORY SIZE HAS CHANGED SINCE LAST BOOT
Memory has been added or removed since the last boot.
In EISA mode, use the EISA Configuration Utility to reconfigure the memory configuration. In ISA mode, enter Setup and enter the new memory size in the memory fields if possible.
Memory Verify Error at XXXX
Indicates an error verifying a value already written to memory.
Use the location along with your system’s memory map to locate the bad chip(s).
OFFENDING ADDRESS NOT FOUND
This message is used in conjunction with the I/O CHANNEL CHECK and RAM PARITY ERROR messages when the segment that has caused the problem cannot be isolated.
-
OFFENDING SEGMENT:
Same as above.
-
PRESS A KEY TO REBOOT
This message is displayed at the bottom of the screen when an error occurs that requires you to reboot.
Press any key to reboot the system.
PRESS F1 TO DISABLE NMI, F2 TO REBOOT
When BIOS detects a Non-maskable Interrupt condition during boot, this will allow you to disable the NMI and continue to boot, or you can reboot the system with the NMI enabled.
-
RAM PARITY ERROR – CHECKING FOR SEGMENT
Indicates a parity error in Random Access Memory.
-
Should Be Empty But EISA Board Found
A valid board ID was found in a slot that was configured as having no board ID.
Run the EISA Configuration Utility.
Should Have EISA Board But Not Found
The board installed is not responding to the ID request, or no board ID has been found in the indicated slot.
Run the EISA Configuration Utility.
Slot Not Empty
A slot designated as empty by the EISA Configuration Utility actually contains a board.
Run the EISA Configuration Utility.
SYSTEM HALTED, (CTRL-ALT-DEL) TO REBOOT …
Indicates the present boot attempt has been aborted and the system must be rebooted.
Press and hold down the CTRL and ALT keys and press the DEL key simultaneously.
Wrong Board in Slot
The board ID does not match the ID stored in the EISA non-volatile memory.
Run the EISA Configuration Utility.


ขอบคุณที่มา  http://www.com-th.net/main/2008/11